วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2550

สรุปประเด็นการอภิปรายในชั้นเรียน

ความรู้และทักษะเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษาที่ครูทุกคนควรมี
ประเด็นการอภิปราย
1. ครูควรมีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีการศึกษาหรือไม่? อย่างไร? และเพราะอะไร?
ตอบ ครูควรมีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีการศึกษาอย่างยิ่ง เพราะครูสามารถนำความรู้นี้ไปช่วยในการเรียนการสอนให้ง่ายและเข้าใจมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากนั้นยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานต่างๆ ได้อีกด้วย
2. ความรู้และทักษะที่ท่านว่ามีอะไรบ้าง?
ตอบ 1.มีความรู้และทักษะพื้นฐานในการใช้คอมพิวเตอร์
2. มีความรู้และทักษะพื้นฐานในการใช้โสตทัศนูปกรณ์
3. เครื่องมือเทคโนโลยีการศึกษาที่จำเป็นสำหรับครูในปัจจุบันมีอะไรบ้าง?
ตอบ สื่อวิดีทัศน์ ,คอมพิวเตอร์ ,เครื่องเสียง ,เครื่องโปรเทคเตอร์ ,overhead เป็นต้น
4.จะทราบได้อย่างไร? ว่าครูมีความรู้และทักษะมากน้อยแค่ไหน?
ตอบ 1. ครูสาธิตการใช้งานของเครื่องมือต่างๆ
2. จัดแสดงผลงานของครู
5.จะเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาความรู้และทักษะเหล่านี้แก่ครูด้วยตนเองอย่างไร?
ตอบ ศึกษาจากหนังสือ ตำราวิชาการต่างๆ หาข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ หรือเข้ารับการอบรม สัมมนาในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีทางการศึกษา

ระดมสมอง

นวัตกรรมการศึกษา
1.ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรม หมายถึง การปรับปรุงดัดแปลงวิธีการเดิมหรือนำเอาวิธีการใหม่มาใช้ในกระบวนการดำเนินงานใด ๆ แล้วทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม
นวัตกรรมทางการศึกษา คือ ความคิดใหม่ รูปแบบใหม่ วิธีการใหม่ เทคนิคใหม่ แนวทางใหม่ ผลผลิตใหม่ ที่ได้ปรับประยุกต์ สร้างสรรค์และพัฒนาทั้งจากการต่อยอด
ภูมิปัญญาเดิมหรือจากการคิดค้นขึ้นมาใหม่ ด้วยภูมิปัญญาใหม่ให้เกิดสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
2.ประเภทของนวัตกรรม
2.1นวัตกรรมแผนการจัดการเรียนรู้ อาทิ
- แผนการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
- แผนการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT
- แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
- ฯลฯ
2.2 นวัตกรรมวิธีสอนหรือวิธีการจัดการเรียนรู้ อาทิ
- แบบอุปนัย
- แบบนิรนัย
- แบบวิทยาศาสตร์
- แบบแก้ปัญหา
- ฯลฯ
2.3 นวัตกรรมสื่อและเทคโนโลยี
2.3.1 นวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ ประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ อาทิ
หนังสือเสริมประสบการณ์ประเภท
-หนังสืออ่านนอกเวลา (Extemal Reading)
-หนังสืออ่านเพิ่มเติม (Supplementary Reader)
-หนังสืออุเทศ (Reference Book )
-หนังสือส่งเสริมการอ่าน (Children s Book )
หนังสือสำหรับค้นคว้าตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 อาทิ
-การเขียนเชิงสร้างสรรค์
-การเขียนและการเล่านิทาน
-การเขียนสารคดี
-ประชาธิปไตย
-ฯลฯ
2.3.2 นวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ ประเภทสื่อเทคโนโลยี อาทิ
-วีดิทัศน์
-แถบบันทึกเสียง
-คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI )
-ซีดีรอม
2.3.3 นวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ ประเภทสื่ออื่น ๆ อาทิ
-สื่อบุคคล
-สื่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-สื่อกิจกรรม
-สื่อกระบวนการ
-สื่อวัสดุ
-ฯลฯ
3. ขั้นตอนการเกิดนวัตกรรม
3.1 ขั้นการศึกษา ค้นคว้า (Study )
เป็นคุณลักษณะพื้นฐานของผู้ที่ริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นการครุ่นคิดรวบรวมองค์ความรู้ ประมวลความรู้ เพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายแห่งความสำเร็จในการคิดค้นนวัตกรรม
3.2 ขั้นการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation )
เมื่อประมวลความรู้จนตกผลึกแล้ว การประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมใหม่ก็จะเริ่มขึ้น
การเรียนรู้จะเกิดได้จากประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้สัมผัสกับเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยตนเอง การได้ปฏิบัติด้วยตนเองนั้นจะทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างกระจ่างแจ้ง
3.3 ขั้นพัฒนาการ (Development)
ขั้นนี้เป็นขั้นของการพัฒนาความคิดไปสู่การทดลองโดยจัดทำเป็นโครงการนำร่อง
3.4 ขั้นการปฏิบัติ (Action )
เมื่อทดลองและปรับปรุงแก้ไขความคิดต้นแบบจากการทดลองแล้ว ก็เป็นขั้นของการ
ปฏิบัติตามความคิดต้นแบบ หรือตามนวัตกรรมที่คิดค้นขึ้น ในขั้นนี้จะมีการเผยแพร่ เพื่อขยายเครือข่ายการปฏิบัติให้กว้างขวางออกไป
ในกรณีเช่นนี้ ความคิด แนวคิด และกิจกรรม ที่เกิดขึ้นของฟรานซิส เบคอน คือ นวัตกรรม โดยสรุปแล้ว ระดับของการสร้างสรรค์นวัตกรรมมีอยู่ 2 ระดับ ได้แก่
1.ระดับนวัตกรรมเชิงพัฒนา (C แอนด์ D ) เป็นการพัฒนานวัตกรรมขึ้นมาจากนวัตกรรมเก่าที่มีอยู่เดิม
2.ระดับนวัตกรรมเชิงวิจัยและพัฒนา (R แอนด์ D ) เป็นการสร้างนวัตกรรมขึ้นจากความคิดและวิธีการของตนเองซึ่งเป็นสิ่งที่ทำขึ้นใหม่
4.การยอมรับและปฏิเสธนวัตกรรม
4.1 การปฏิเสธนวัตกรรมเกิดจากสาเหตุ 4 ประการคือ
-ความเคยชินกับวิธีการเดิม
-ความไม่แน่ใจในประสิทธิภาพของนวัตกรรม
-.ความรู้ของบุคคลต่อนวัตกรรม
-ข้อจำกัดด้านงบประมาณ
4.2 การยอมรับนวัตกรรมแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนคือ
-ขั้นตื่นตัว
-ขั้นสนใจ
-ขั้นไตร่ตรอง
-ขั้นทดลอง
-ขั้นยอมรับ
5.การนำนวัตกรรมมาใช้กับการศึกษา
ได้มีผู้นำนวัตกรรมมาใช้ในการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- บทเรียนสำเร็จรูป ( Program texts )
- ชุดการสอน ( Instructional peckages )
- ศูนย์การเรียน (Learning center )
- การสอนแบบจุลภาค ( Micro teaching )
- การสอนเป็นคณะ ( Team teaching )

แหล่งเรียนรู้แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
1. ความหมายของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ หมายถึง ศูนย์รวมของวิชาความรู้ที่เป็ทรัพยากรธรรมชาติ บุคคล สิ่งประดิษฐ์ วัตถุ อาคาร สถานที่ ซึ่งมีอยู่กระจัดกระจาย ทั้งชุมชนเมืองและชุมชชบท อันเป็นขุมทรัพย์แห่งปัญญาที่แทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตของมนุษย์ เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ค้นพบได้อย่างไม่รู้จบ
2. ประเภทของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ จำแนกเป็น 4 ประเภทใหญ่ คือ
2.1 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทบุคคล หมายถึง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม มีผลงานได้รับการยกย่อง เป็นที่ยอมรับของสังคมซึ่งถือเป็นตัวอย่างต้นแบบกับบุคคลรุ่นหลังสืบไปในหลายสาขาอาชีพ ตัวอย่างเช่น แม่กิมลั้ง แม่กิมเนีย ที่มีความถนัดทางด้านปรุงแต่งขนมหม้อแกงเมืองเพชร โกฮับเจ้าเก่า ผู้บุกเบิกก๋วยเตี๋ยวเรือคลองรังสิตจนเป็นที่รู้จักทั่วประเทศ ด้านการเรียนการสอน มีครูต้นแบบสร้างสรรค์ ผลงานนวัตกรรมทางการสอนขึ้นหลายรูปแบบ เช่น สอนให้สนุกเป็นสุขเมื่อได้สอน การสอนที่เน้นกระบวนการ การสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร เพื่อนสอนเพื่อน การสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา การสอนดนตรีไทยและดนตรีพื้นเมือง
2.2 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภททรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สภาพธรรมชาติที่มีอยู่แล้วในโลกและอวกาศ ซึ่งไม่ได้หมายถึงสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ เช่น ภูเขา ป่าไม้ ลำธาร ห้วย หนอง คลอง บึง แม่น้ำ และสัตว์ป่านานาชนิด เป็นต้นเนื่องด้วยปัจจุบันมีการนำธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาใช้ประโยชน์อย่างมากจนเหลือจำนวนน้อยลง มนุษย์เริ่มตระหนักถึงภัยที่จะเกิดขึ้นเพราะขาดธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดี จึงได้มีการรณรงค์สร้างสิ่งทดแทนธรรมชาติ ได้แก่ ปลูกป่า จัดระบบนิเวศวิทยา อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการสอนพฤกษ-ศาสตร์ อนุรักษ์และขยายพันธุ์สัตว์ พันธุ์พืชนานาชนิด
2.3 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทสื่อ หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่ใช้เป็นช่องทางการสื่อสาร แยกได้ 2 ประเภท คือ
2.3.1 สื่อทางด้านกายภาพ ได้แก่ วัสดุ ลักษณะสิ่งพิมพ์ ฟิล์ม แผ่นภาพโปร่งใส เทปบันทึกภาพ เทปบันทึกเสียง แผ่น CD ชนิดเสียงและภาพ เป็นต้น อุปกรณ์ เป็นตัวช่องทางผ่านในลักษณะเครื่องฉาย เครื่องเสียงชนิดต่างๆ เป็นต้น
2.3.1 สื่อทางด้านวิธีการ ได้แก่ รูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ ทั้งการใช้เทคโนโลยีพื้นบ้าน และเทคโนโลยีระดับสูง ได้แก่
- สื่อท้องถิ่น ประเภทเพลง เช่น หมอลำ หนังตะลุง ลำตัด อีแซว ลำนำเพลงซอ เพลงพวงมาลัย เพลงฉ่อย และนิทานพื้นบ้าน เป็นต้น
- สื่อกิจกรรม เช่น หมากเก็บ หมากขะเหย่ง ตี่จับ มอญซ่อนผ้า เดินกะลา เป็นต้น เป็นที่น่าสังเกตว่า สื่อกิจกรรมพื้นบ้านดังกล่าวมีมาแต่โบราณ หลายกิจกรรมเหมือนกับของชนเผ่าปิกมี่ในทวีปแอฟริกา ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีความสนุกตื่นเต้นในกลุ่มเด็กๆ ปัจจุบันก็ยังได้รับความนิยมอยู่ แต่ก็มีกิจกรรมที่ได้รับการพัฒนามาเป็นลำดับ จนถึงการใช้เทคโนโลยีระดับสูง เช่น โปรแกรมเกมคอมพิวเตอร์ บทเรียนโปรแกรม โปรแกรมผ่านสื่ออินเตอร์เนต ระบบมัลติมิเดีย ประเภท E-Learning เป็นต้น ซึ่งการประชุมสัมมนา การปฏิบัติงานกลุ่ม การทัศนศึกษา ก็เข้าข่ายสื่อกิจกรรมชนิดหนึ่ง
2.4 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทวัตถุและอาคารสถานที่ หมายถึง วัตถุและอาคารสถานที่ ที่มีศักยภาพเป็นแหล่งความรู้ด้วยตัวของมันเอง สามารถสื่อความหมายโดยลำพังตัวเอง เช่น สถาปัตยกรรมด้านการก่อสร้าง จิตรกรรมภาพฝาผนัง ปูชนียวัตถุด้านประวัติศาสตร์ ชิ้นส่วนของธรรมชาติที่ให้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ โบราณวัตถุทางด้านศาสนา พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น
3.ประโยชน์ของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีผลต่อการศึกษา
- ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ จดจำบทเรียนได้ง่ายขึ้น
- ช่วยให้มองเห็นภาพเหตุการณ์ที่เป็นของจริง
- มีความเป็นรูปธรรม สามารถมองเห็น จับต้อง สัมผัส รับรู้เรื่องราวหรือเหตุ
เหตุการณ์ต่าง ๆ
- นำมาใช้ประกอบการเรียนการสอน
4.การนำแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้มาไว้กับการเรียนการสอน
เนื่องจากแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้มีอยู่มากมายหลากหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบก็จะอำนวยประโยชน์ในด้านการสอนต่าง ๆ กัน ดังนั้นผู้ใช้จึงควรนำทรัพยากรการเรียนรู้มาใช้ให้ตรงตามจุดประสงค์เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้มากที่สุด

คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน
1.องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
1.1 ฮาร์ดแวร์ (Hardware ) หมายถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ประกอบเข้าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 4 หน่วย คือ
- หน่วยรับข้อมูล (Input Unit )
- หน่วยประมวลผลกลาง (CPU = Central Processing Unit )
- หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage Unit )
- หน่วยแสดงผล (Output Unit )
1.2 ซอฟแวร์ (Software ) หมายึงโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อให้ฮาร์แวร์ทำงานตามคำสั่งที่ต้องการ โดยอาจแบ่งซอฟแวร์ตามหน้าที่การทำงานดังนี้
- ระบบปฏิบัติงาน (OS=Operating System )
- โปรแกรมแปลภาษา (Compiler or interpreter )
- โปรแกรมประยุกต์ (Application program )
- โปรแกรมสำเร็จ (Package )
1.3 บุคลากร (Peopleware ) การทำงานของคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีบุคลากรในการควบคุมการทำงานและจัดทำโปรแกรม ซึ่งแบ่งออกได้เป็น
- พนักงานเตรียมข้อมูล (data entry operator )
- พนักงานควบคุมคอมพิวเตอร์ (computer operator )
- นักโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (programmer )
- นักวิเคราะห์ระบบ (systerm analysis )
2.ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน มาจากภาษาอังกฤษว่า Computer Assisted Instruction
และนิยมเรียนย่อ ๆ ว่า CAI หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอน โดยที่เนื้อหาวิชา แบบฝึกหัดและการทดสอบจะถูกพัฒนาขึ้นในรูปของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งมักเรียกว่า Courseware ผู้เรียนจะเรียนบทเรียนจากคอมพิวเตอร์ โดยคอมพิวเตอร์จะสามารถเสนอเนื้อหาวิชาซึ่งอาจจะเป็นทั้งในรูปตัวหนังสือ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว สามารถถามคำถาม รับคำตอบจากผู้เรียน ตรวจคำตอบ และแสดงผลการเรียนในรูปของข้อมูลป้อนกลับให้แก่ผู้เรียน
3.ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
- โปรแกรมเพื่อฝึกหัดและปฏิบัติ (Drill and Practice )
- โปรแกรมเพื่อการสอน (Tutorial )
- โปรแกรมจำลองสถานการณ์ (Simulation )
- เกมทางการศึกษา (Educational Games )
- โปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา (Problem Solving )
4. ข้อดีและข้อจำกัด
ข้อดีของ CAI
- ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามความสามารถของตนเอง
- ผู้เรียนจะได้รับการเสริมแรงทันทีทันใดจากบทเรียนที่โปรแกรมได้ไว้
- สามารถเอาเสียงดนตรี สีสันสวยงาม กราฟิกและภาพเคลื่อนไหวทำให้ดูเหมือนจริง
สร้างสถานดารณ์จำลองเพื่อการเรียนและการปฏิบัติ
- ช่วยลดเวลาและทุ่นแรงผู้สอน
- ไม่จำกัดสถานที่เรียน
- สามารถเรียนจากสื่อประสม
- ทราบผลการเรียนทันที
ข้อจำกัดของ CAI
- ขาดซอฟแวร์บทเรียนที่มีคุณภาพ
- ขาดบุคลากรที่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์
- ขาดการสนับสนุนของผู้บริหาร
- ความยุ่งยากในการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
- ครุภัณฑ์มีราคาสูง
5.การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีความเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่ายที่สำคัญและจะต้องคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้
5.1บุคลากรทางด้านบทเรียน
ในการออกแบบและสร้างบทเรียนจะต้องอาศัยความรู้จากบุคคลหลาย ๆ ด้านซึ่งนิยมทำงานกันเป็นคณะ โดยแต่ละบุคคลจะมีความเชื่ยวชาญและทักษะในการทำงานประกอบด้วย
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเนื้อหา
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดีย
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการวัดผลการศึกษา
ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการและการบริหารระบบการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
5.2 การพัฒนาบทเรียน CAI
5.2.1 โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับพัฒนาบทเรียน CAI แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
- การพัฒนาบทเรียน CAI ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูประบบนิพนธ์บทเรียน
- การพัฒนาบทเรียน CAI ด้วยภาษาคอมพิวเตอร์
5.2.2 กระบวนการออกแบบและพัฒนาบทเรียน CAI แบ่งขั้นตอนการพัฒนาได้ดังนี้
ขั้นที่ 1 การวางแผน
ขั้นที่ 2 การออกแบบบทเรียน
ขั้นที่ 3 การสร้างบทเรียน
ขั้นที่ 4 การประเมินและแก้ไขบทเรียน
6.การใช้และการประเมินผล
ผู้บริหารและหน่วยงานทางการศึกษาในโรงเรียนแต่ละแห่งควรมีส่วนช่วยผลักดันและส่งเสริมให้ครูในโรงเรียนมีการนำบทเรียน CAI เข้าไปร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน
และให้ครูประเมินผลโดยการสังเกตจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางด้านการเรียนจะพบได้ว่าเด็กมีความสนใจ ตื่นเต้น แปลกใหม่ และเกิดความตั้งใจที่จะเรียนรู้ในที่สุด

เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
1.ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งประกอบด้วยเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายโทรคมนาคมที่เชื่อมต่อกัน สำหรับใช้ในการส่งและรับข้อมูลและสื่อประสมเกี่ยวกับความรู้ โดยผ่านกระบวนการประมวลผลหรือจัดทำให้อยู่ในรูปที่มีความหมายและความสะดวกมาใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
2.ประเภทของเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
- เทคโนโลยีสารสนเทศกับระบบการเรียนการสอนทางไกล
- สื่อประสม
- อินเตอร์เน็ตกับการศึกษา
- การสอนบนเว็บ
- หนังสืออิเล็กทรอนิคส์
- การประชุมทางไกลผ่านจอภาพ
- วีดิทัศน์ตามคำขอ
3.ข้อดีและข้อจำกัดของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ข้อดี
- ช่วยในการประมวลผลข้อมูลที่แม่นยำ ถูกต้อง รวดเร็ว
- ช่วยพัฒนาประสิทธิภาพของบุคคลากรให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
- สามารถส่งผ่านข้อมูลไปยังผู้รับได้ทุกสถานที่ทั่วโลก
- ประหยัดเวลาในการทำงานค้นหาข้อมูล
ข้อเสีย
- ข้อจำกัดด้านอุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์ที่บางสถานที่ยังไม่มีใช้งาน
- ข้อจำกัดทางด้านสภาพภูมิอากาศ ซึ่งยังต้องอาศัยช่องทางเครือข่ายทางโทรคมนาคม
เข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องของความแปรรวนทางสภาพอากาศทำให้ไม่สามารถรับข้อมูล
ได้
- มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูง
4.แนวทางการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการศึกษา
การนำระบบเทคโนโลยีมาใช้ในหน่วยงานการศึกษาหรือหน่วยงานใด ๆ จะประสบผลสำเร็จได้ จะต้องพิจารณาแนวทางที่เหมาะสมในเรื่องต่อไปนี้
- การนำเทคโนโลยีมาติดตั้ง
- ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร การจัดการ และเทคโนโลยี
- การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการศึกษาอาจทำได้ 3 ด้าน คือ
- เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนช่วยเรื่องการเรียนรู้
- เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา
- เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการสื่อสารระหว่างบุคคล
5.การประเมินผลการใช้งาน
การที่เราจะประเมินผลว่าผู้ใช้มีความรู้ความสามารถเพียงใดนั้น สามารถทำได้โดยการให้ทดลองปฏิบัติ ทำกิจกรรมส่ง ทำแบบทดสอบ

วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

สรุปประเด็นการอภิปราย สื่อมวลชนกับการศึกษา

การอภิปรายเรื่อง “สื่อมวลชนกับการศึกษา”
สรุปประเด็นที่อภิปราย
1.สื่อมวลชนหมายถึงอะไร
สื่อมวลชน (Mass Communication) หมายถึง กระบวนการนำสารหรือการส่งสารไปยังคนจำนวนมาก ค่อนข้างสลับซับซ้อนกว่าการสื่อสารประเภทอื่น ผู้ส่งสารอาจเป็นกลุ่มบุคคล หรือรวมตัวกันเป็นองค์กร หรือสถาบันก็ได้ ส่วนผู้รับสารนั้นจะเป็นบุคคลจำนวนมาก ที่กระจัดกระจายอยู่และไม่มีปฏิกิริยาสัมพันธ์ต่อกัน
2.บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชน มี 5 ประการ คือ
1.มีหน้าที่ในการเสนอข่าวสารข้อเท็จจริงแก่มวลชน
2.มีหน้าที่ในการเสนอความคิดเห็นในประเด็นหรือปัญหาใด ๆ ซึ่งมีผลกระทบต่อประโยชน์ของส่วนรวม
3.มีหน้าที่ให้การศึกษาแก่มวลชน
4.มีหน้าที่ให้ความบันเทิงแก่มวลชนในรูปแบบต่าง ๆ
5.มีหน้าที่ในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีต่อกัน
3.สื่อมวลชนที่มีอิทธิพลต่อสังคมมากที่สุดในปัจจุบันคืออะไรเพราะเหตุใด
สื่อจากสิ่งพิมพ์นับว่าเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อสังคมมากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากหาซื้อได้ง่าย มีเนื้อหาสาระ
สาระหลากหลาย ครอบคลุมกลุ่มบุคคลทุกเพศ ทุกวัย ไม่ต้องมีอุปกรณ์เสริมในการเข้าถึงข้อมูล นำไปอ่านได้
ในทุก ๆ สถานที่ และเปิดอ่านได้ทุกเวลา
4.ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรกับคำกล่าวที่ว่า “สื่อมวลชนเปรียบเหมือนดาบสองคม”
เห็นด้วย เพราะข้อความที่ได้รับจากสื่อมวลชนในปัจจุบันจะมีทั้งในด้านบวกและด้านลบ ดังนั้นผู้รับสารจึง จำเป็นที่จะต้องใช้วิจารญาณ์ในการพิจารณาข้อความที่ได้รับว่ามีความน่าเชื่อถือ หรือเป็นไปได้เพียงใด
5.ท่านมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดเรตติ้งทางทีวีอย่างไร
ไม่เห็นด้วยที่จะจัดให้มีแต่รายการเฉพาะสำหรับเด็ก เพราะปัจจุบันสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเด็กควรจะได้รับรู้ถึงสถานการณ์ในโลกปัจจุบันที่มีทั้งอันตราย กลโกง สิ่งยั่วยุต่าง ๆ ไม่ใช่มองแต่โลกในด้านเดียวที่เป็นสีขาว
6.SMS มีผลดีผลเสียกับสังคมอย่างไร
ข้อดี
1.ใช้งานง่าย สะดวก และรวดเร็ว
2.สามารถส่งได้ทั้งข้อความภาพ ข้อความตัวอักษร
3.สามรถนำมาใช้ในด้านธุรกิจ เช่น โฆษณาขายสินค้าและบริการต่าง ๆ ผ่าน sms
ข้อเสีย
1.ใช้ในการรับส่งภาพหรือข้อความที่ไม่เหมาะสม
2.มิจฉาชีพใช้เป็นเครื่องมือในการหากิน เช่น การส่ง sms ไปหลอกลวงว่าคุณคือผู้โชคดีให้มารับรางวัลกับทาง
บริษัทและทำการหลอกลวงต่อด้วยวิธีการอื่นเมื่อผู้ได้รับข้อความติดต่อกับมา
7.การนำสื่อมวลชนมาใช้ในการศึกษาจะเกิดประโยชน์กับการศึกษาหรือการเรียนการสอนอย่างไร
1.สามารถแพร่กระจายความรู้เนื้อหาสาระในสาขาวิชาต่าง ๆ ไปสู่คนจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว
2.เปิดโอกาสให้ประชาชนที่กระจายอยู่ตามที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ มีโอกาสได้รับประโยชน์ทางการศึกษา
เท่าเทียมกัน
3.ช่วยแก้ปัญหาเรื่องการขาดแคลนวัสดุการศึกษาของระบบโรงเรียน
4.ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาของรัฐ
8.จะมีแนวทางในการนำสื่อมวลชนมาใช้กับการศึกษาอย่างไร
การที่เราจะนำสื่อมวลชนมาใช้ในการศึกษาได้นั้น ผู้ใช้จะต้องรู้และเข้าใจในประเภทของสื่อเสียก่อน
เพราะสื่อแต่ละชนิดมีสภาพการทำงานและคุณสมบัติเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน ความรวดเร็วในการส่งสารก็แตกต่างกัน
วิธีการนำสารไปสู่จุดหมายปลายทางก็แตกต่างกัน ดังนั้นผู้ใช้ควรรู้จุดมุ่งหมายเสียก่อนว่าจะสอนเรื่องอะไร ควรใช้สื่อตัวใดสำหรับการสอนเรื่องใด เพื่อใจได้เกิดประโยชน์สูงสุดในการเรียนการสอน